"หมอยง" เผยโรคไข้สูงเกล็ดเลือดต่ำ พบได้ในประเทศไทย คล้ายไข้เลือดออก แต่มีความรุนแรงกว่า

วันที่ 2 ก.ค. 2568 |
ผู้เข้าชม 17 ครั้ง
"หมอยง" เผยโรคไข้สูงเกล็ดเลือดต่ำ พบได้ในประเทศไทย คล้ายไข้เลือดออก แต่มีความรุนแรงกว่า เชื่อว่าพบได้ทุกแห่งในประเทศ แต่ที่ผ่านมาไม่ได้รับการวินิจฉัย ขณะนี้พบที่เพชรบูรณ์ เร่งศึกษาตัวกลางของโรคจะเป็นเห็บเหมือนในจีนหรือไม่
วันนี้ (2 ก.ค.68) ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงโรคไข้สูง เกล็ดเลือดต่ำ (Severe Fever with Thrombocytopenia, SFTS) พบได้ในประเทศไทย
โรคไข้สูง เกล็ดเลือดต่ำ (SFTS) อาการคล้ายไข้เลือดออก แต่มีความรุนแรงมากกว่า โดยจะมีไข้สูง บางรายถึง 40 องศา และอยู่นานกว่าไข้เลือดออก มีเกล็ดเลือดต่ำ และอาจเกิดความล้มเหลว ในระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้พบมากในประเทศจีนตะวันออก เกาหลี ญี่ปุ่น มีเห็บเป็นพาหะ และรู้จักกันมานานกว่า 15 ปี มีอัตราเสียชีวิตในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำโรคประจำตัว ได้มาก
ทีมวิจัยของศูนย์วิจัยเชี่ยวชาญไวรัส ได้ทำงานวิจัยเรื่องนี้มาเกือบ 5 ปี และทำมาโดยตลอด โดยรายงาน 3 รายแรก ที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และชลบุรี ไว้ในวารสารที่มีชื่อเสียง Emerging Infectious Disease (EID) ได้มีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย ได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้ real time RT-PCR เช่นเดียวกับโควิด 19 และมีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว สายพันธุ์ในประเทศไทยเป็นกลุ่มแรกของประเทศ ทำให้รู้รายละเอียดต่าง ๆ อย่างมาก
หลังจากนั้นก็ได้ร่วมงานกับทีมงานของ AFRIM ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีไข้สูงไม่ทราบเหตุ ประมาณ 1 พันราย ก็พบโรคนี้ได้ประมาณ 1.6% และยังมีการศึกษาในตัวกลาง vector พบในไรอ่อน ของหนู (Chigger) และกำลังศึกษาในเห็บชนิดต่างๆที่อยู่ในประเทศไทย
SFTS เชื่อว่าพบได้ทุกแห่งในประเทศไทย แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะขาดการตระหนักรับรู้ และไม่มีวิธีการตรวจ ซึ่งขณะนี้ก็มีการพบที่เพชรบูรณ์ ทางศูนย์ฯ ยินดีให้ความสนับสนุน ในเรื่องการตรวจวินิจฉัย เพราะได้พัฒนาวิธีการตรวจ ได้อย่างรวดเร็ว และมี positive control รวมทั้งตรวจภาวะภูมิต้านทาน IgG และ IgM ที่จะทำให้วินิจฉัยได้ดีขึ้น
การศึกษาในประเทศไทยคงจะต้องทำต่อไป โดยเฉพาะจะต้องหาให้ได้ ว่าตัวกลางของโรคนี้ คืออะไร จะเป็นตัวเห็บ อย่างที่พบในประเทศจีนหรือไม่ เพราะตัวเห็บที่พบในประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็น Haemaphysalis longicornis หรือ long horn tick แต่เห็บสุนัขไทยในบ้านเราเป็น สายพันธุ์ Rhipicephalus sanguineus ขณะนี้จึงยังจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้ละเอียดในประเทศไทย เพื่อเป็นมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการขอทุนได้อย่างฉุกเฉิน เพื่อเข้าไปทำการศึกษาได้อย่างรวดเร็วมากกว่าวิธีการที่จะขอทุนรอข้ามปี เพื่อผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศไทย
วันนี้ (2 ก.ค.68) ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงโรคไข้สูง เกล็ดเลือดต่ำ (Severe Fever with Thrombocytopenia, SFTS) พบได้ในประเทศไทย
โรคไข้สูง เกล็ดเลือดต่ำ (SFTS) อาการคล้ายไข้เลือดออก แต่มีความรุนแรงมากกว่า โดยจะมีไข้สูง บางรายถึง 40 องศา และอยู่นานกว่าไข้เลือดออก มีเกล็ดเลือดต่ำ และอาจเกิดความล้มเหลว ในระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้พบมากในประเทศจีนตะวันออก เกาหลี ญี่ปุ่น มีเห็บเป็นพาหะ และรู้จักกันมานานกว่า 15 ปี มีอัตราเสียชีวิตในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำโรคประจำตัว ได้มาก
ทีมวิจัยของศูนย์วิจัยเชี่ยวชาญไวรัส ได้ทำงานวิจัยเรื่องนี้มาเกือบ 5 ปี และทำมาโดยตลอด โดยรายงาน 3 รายแรก ที่รอบนอกกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และชลบุรี ไว้ในวารสารที่มีชื่อเสียง Emerging Infectious Disease (EID) ได้มีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย ได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้ real time RT-PCR เช่นเดียวกับโควิด 19 และมีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว สายพันธุ์ในประเทศไทยเป็นกลุ่มแรกของประเทศ ทำให้รู้รายละเอียดต่าง ๆ อย่างมาก
หลังจากนั้นก็ได้ร่วมงานกับทีมงานของ AFRIM ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่มีไข้สูงไม่ทราบเหตุ ประมาณ 1 พันราย ก็พบโรคนี้ได้ประมาณ 1.6% และยังมีการศึกษาในตัวกลาง vector พบในไรอ่อน ของหนู (Chigger) และกำลังศึกษาในเห็บชนิดต่างๆที่อยู่ในประเทศไทย
SFTS เชื่อว่าพบได้ทุกแห่งในประเทศไทย แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะขาดการตระหนักรับรู้ และไม่มีวิธีการตรวจ ซึ่งขณะนี้ก็มีการพบที่เพชรบูรณ์ ทางศูนย์ฯ ยินดีให้ความสนับสนุน ในเรื่องการตรวจวินิจฉัย เพราะได้พัฒนาวิธีการตรวจ ได้อย่างรวดเร็ว และมี positive control รวมทั้งตรวจภาวะภูมิต้านทาน IgG และ IgM ที่จะทำให้วินิจฉัยได้ดีขึ้น
การศึกษาในประเทศไทยคงจะต้องทำต่อไป โดยเฉพาะจะต้องหาให้ได้ ว่าตัวกลางของโรคนี้ คืออะไร จะเป็นตัวเห็บ อย่างที่พบในประเทศจีนหรือไม่ เพราะตัวเห็บที่พบในประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็น Haemaphysalis longicornis หรือ long horn tick แต่เห็บสุนัขไทยในบ้านเราเป็น สายพันธุ์ Rhipicephalus sanguineus ขณะนี้จึงยังจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้ละเอียดในประเทศไทย เพื่อเป็นมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการขอทุนได้อย่างฉุกเฉิน เพื่อเข้าไปทำการศึกษาได้อย่างรวดเร็วมากกว่าวิธีการที่จะขอทุนรอข้ามปี เพื่อผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศไทย